Wednesday, December 21, 2011

อิโต ฮิโระบุมิ นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศญี่ปุ่น

พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) – อิโต ฮิโระบุมิ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศญี่ปุ่น



ฮิโระบุมิ อิโต (ญี่ปุ่น: 伊藤 博文 Itō Hirobumi ?) (16 ตุลาคม 2384 - 26 ตุลาคม 2452) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่น
นอกจากจะมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของญี่ปุ่นแล้ว ยังเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น 4 สมัย, ประธานองคมนตรีคนแรก, ประธานวุฒิสภา, ผู้ตรวจราชการโชซอน (韓国統監府統監) และผู้ว่าราชการจังหวัดเฮียวโงะ (จากการแต่งตั้ง) เป็นผู้ก่อตั้งพรรคริกเค็นเซยูไค (立憲政友会) ซึ่งเป็นรากฐานของพรรคเสรีประชาธิปไตยที่เป็นพรรคฝ่ายค้านของญี่ปุ่นในปัจจุบัน และยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเยล ในสหรัฐอเมริกา


 ชีวิตเยาว์วัย-และเข้าเป็นทหาร
 อิโต ฮิโระบุมิ มีชื่อเดิมว่าโทะชิสึเกะ เป็นบุตรคนโตของครอบครัวชาวนาในเมืองฮางิ แคว้นโจชู (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดยะมะงุจิ) บิดาชื่อว่า จูโซ มารดาชื่อว่าโคะโตะโกะ เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจนมาก จึงต้องส่งโทะชิสึเกะไปเป็นบุตรบุญธรรมของซามูไรระดับล่างในท้องถิ่น ชื่อว่า อิโต นะโอะเอะมง ตั้งแต่อายุ 12 ขวบ หลังจากเข้าเรียนในโรงเรียนมัตสึชิตะจุกุ ก็ไปเกี่ยวพันกับขบวนการโค่นล้มระบอบโชกุนในสมัยนั้น
 ในปี 2405 ขณะที่มีอายุได้ 21 ปี ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนลอบสังหารนะงะอิ อุตะ ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดที่ให้รัฐบาลทหารรวมตัวกับราชสำนักในเกียวโต (และรักษาระบอบโชกุนเอาไว้) นอกจากนี้ยังเข้าร่วมลอบวางเพลิงสถานกงสุลอังกฤษ จนมีชื่อในฐานะผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านต่างชาติต่อมาในปี 2406 ได้ไปเรียนต่อที่อังกฤษ (คาดว่าแนวคิดต่อต้านต่างชาติคงจะเบาบางลง หลังจากได้เห็นสภาวะของอังกฤษในช่วงนั้น ที่มีกำลังเหนือกว่าญี่ปุ่นมาก) ดังนั้นเมื่อรู้ข่าวว่าแคว้นของตนกำลังเตรียมทำสงครามกับอังกฤษ ก็รีบกลับประเทศเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงสงคราม แต่ไร้ผล เพราะในที่สุดแคว้นโจชูก็ได้ทำสงครามกับอังกฤษ (แน่นอนว่าอังกฤษที่มีเทคโนโลยีเหนือกว่าเป็นฝ่ายได้เปรียบ) และหลังสงครามทำหน้าที่เป็นล่ามในการเจรจาสงบศึก
  หลังจากที่กองทัพของแคว้นโจชูทำสงครามกับรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะและเป็นฝ่ายได้เปรียบ รัฐบาลของแคว้นโจชูก็ได้แสดงเจตนาที่จะโค่นล้มรัฐบาลโชกุนอย่างชัดแจ้ง ฮิโระบุมิก็ได้เข้าเป็นทหารในกองทัพของแคว้นในช่วงนั้นด้วย กองทัพที่ว่านี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปเมจิประสบความสำเร็จ
credit : wikipedia.org

No comments:

Post a Comment